ค้นเจอ 47 รายการ

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

การขนส่งมวลชน

หมายถึงน. ระบบการขนส่งผู้โดยสารครั้งละมาก ๆ.

การ์ตูน

หมายถึงน. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆ มีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.

การทะเบียนราษฎร

หมายถึง(กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร.

การนำ

หมายถึง(ไฟฟ้า) น. การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำหรือฉนวน; (ความร้อน) การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านเทหวัตถุโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของเทหวัตถุนั้นกระทบกระแทกกันเนื่องจากโมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วมาก.

การวิก

หมายถึง[การะวิก] น. นกการเวก เช่น การวิกรวังวนกุณาล พเพรียกพร้องกระแสงใส. (สมุทรโฆษ). (ป. กรวีก; ส. กรวีก, กลวิงฺก).

การะบุหนิง

หมายถึงน. ดอกแก้ว. (ช.).

การิตการก

หมายถึง[การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทำ, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา “ถูก-ให้” เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท “ยัง” หรือกริยานุเคราะห์ “ให้” เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทำงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน.

การิตวาจก

หมายถึง[การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ “ถูก” “ถูก-ให้” หรือ “ถูกให้” เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทำงาน.

การบวก

หมายถึงการนำจำนวนตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปมารวมกันแล้วมีจำนวนเพิ่มขึ้น

การ

หมายถึงน. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, มักใช้เข้าคู่กับคำ งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทำกริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.

การคลัง

หมายถึงน. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการเงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ