ค้นเจอ 12 รายการ

กระด้ง

หมายถึงน. ภาชนะรูปแบน ขอบกลม สำหรับฝัดข้าวเป็นต้น, ถ้าขนาดใหญ่ เรียกว่า กระด้งมอญ, ถ้ามีตาห่าง เรียกว่า ตะแกรง.

ด้ง

หมายถึง(ถิ่น) น. กระด้ง.

จับปูใส่กระด้ง

หมายถึง(สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้.

จ่อ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปร่างอย่างกระด้ง มีไส้สานเป็นช่องโค้งอยู่ภายใน ใช้เลี้ยงตัวไหม.

กระทก

หมายถึงก. กระตุก เช่น เงื่อนกระทก, กระตุกเร็ว ๆ เช่น กระทกข้าว คือ เอาข้าวใส่กระด้งร่อนพลางกระตุกพลาง เพื่อให้กากข้าวแยกจากข้าวสาร.

ลูกล้อ

หมายถึงน. ส่วนของรถซึ่งเป็นวงกลมสำหรับหมุนเคลื่อนพารถไป, ล้อ ก็ว่า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เป็นวงกลมคล้ายลูกล้อเช่นขอบกระด้ง สำหรับเด็กตีเล่น.

ฝัด

หมายถึงก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่นกระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออกจากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.

กะโล่

หมายถึงpic015.gif,กะโล่>น. ภาชนะสานของโบราณ ทารัก รูปแป้น ปากคลุ่ม ใช้ใส่ของมีเครื่องตัดผมเป็นต้น; ภาชนะสานคล้ายกระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้นํ้ารั่วออก สำหรับหมักขี้ไต้นั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก; เรียกสีหน้าที่แสดงความดีใจหรือภาคภูมิใจมากว่า หน้าบานเป็นกะโล่; ชื่อหมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่มมีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วยไม้ฉำฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้วหุ้มผ้าหรือทำด้วยใบลาน เรียกว่า หมวกกะโล่.

ผีกระหัง

หมายถึงน. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.

กระหัง

หมายถึงน. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).

กระท่อมเลือด

หมายถึงน. ตำรากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับอย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).

บัว

หมายถึงน. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำเป็นรูปกลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐานเป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ