ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา การก, กรรณ-, กรรม์, กรม, กรรณ, กรรณา, เจษฎา, กำ,กำ,กำม, กรร, กรร-
กรรมกรณ์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
กรรมกร เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กรรมกร เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
กรรมกรณ์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กรร
หมายถึง[กัน] (เลิก) ก. กัน เช่น เรือกรร.
หมายถึง[กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
กรรกง
หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จำเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
กรรกฎ
หมายถึง[กันกด] (แบบ) น. ปู เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฎกูรม์. (สมุทรโฆษ). (ส. กรฺกฏ; ป. กกฺกฏ).
กรรชิง
หมายถึง[กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่นรับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้ายร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกำมะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและนํ้าเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
กรรซ้นน
หมายถึง[กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คำหลวง กุมาร).
กรรไตร
หมายถึง[กันไตฺร] น. ตะไกร. (ข. กนฺไตฺร; ส. กรฺตริ).
กรรมกร
หมายถึง[กำมะกอน] น. คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน. (ส. กฺรม = การงาน + กร = ผู้ทำ; ป. กมฺม + กร).
กรรมกรณ์
หมายถึง[กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).
กรรมขัย
หมายถึง[กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตาย แลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).