ค้นเจอ 27 รายการ

หน้าพาทย์แผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อเดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.

บาดแผล

หมายถึงน. เนื้อหนังที่แตกแยกออกเพราะถูกตีฟันทิ่มแทงเป็นต้น.

บานแผละ

หมายถึง[-แผฺละ] น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้นเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่.

เผลาะแผละ

หมายถึง[-แผฺละ] น. ลูกโป่งแก้วที่เด็กเป่าเล่น.

แผลง

หมายถึง[แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลงพยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คำแผลง.

แผล็บ,แผล็บ,แผล็บ ๆ

หมายถึง[แผฺล็บ] ว. ชั่วระยะเวลาเดี๋ยวเดียวอย่างฟ้าแลบ เช่น โผล่แผล็บ ทำแผล็บเดียวเสร็จ แลบลิ้นแผล็บ ๆ, แพล็บ หรือ แพล็บ ๆ ก็ว่า.

แผล็บ

หมายถึง[แผฺล็บ] ว. เป็นเงา, ใช้แก่คำ มัน ในคำว่า มันแผล็บ.

แผละ

หมายถึง[แผฺละ] ว. เสียงดังเช่นนั้น; แสดงอาการอ่อนกำลัง เช่น ล้มแผละ.

หุ้มแผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. กรรมวิธีในการหุ้มพระพุทธรูปด้วยแผ่นเงินหรือแผ่นทองบาง ๆ โดยให้ตะเข็บของแต่ละแผ่นซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันประสานกัน แล้วใช้เครื่องมือกวดรอยประสานให้เรียบเสมอกัน.

ผาดแผลง

หมายถึง[-แผฺลง] ก. ยิงไปโดยเร็ว.

แผล

หมายถึง[แผฺล] น. เนื้อหนังที่แตกแยกออกเพราะเป็นโรคหรือถูกของมีคมเป็นต้น เช่น ขาเป็นแผล; รอยชำรุด เช่น ทุเรียนเป็นแผล เนื้อผลไม้เป็นแผล.

แผลริมแข็ง

หมายถึงน. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคซิฟิลิส จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อนแล้วแตกเป็นแผล ลักษณะก้นแผลเรียบ ขอบนูนแข็ง แผลมักสะอาด ไม่รู้สึกเจ็บ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ