ตัวกรองผลการค้นหา
ทศกัณฐ์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ทศกัณฑ์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
โศกนาฏกรรม เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม เป็นคำที่เขียนผิด ❌
โศกศัลย์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
โสกศัลย์, โศกสันต์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
วงศกร
หมายถึงน. ผู้ต้นตระกูล. (ส.).
โศก,โศก,โศก-
หมายถึง[โสกะ-, โสกกะ-] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป. โสก).
โศกนาฏกรรม
หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.
โศกสลด
หมายถึงว. เศร้ารันทดใจเพราะต้องพลัดพรากจากกัน เวลาพูดถึงมักจะทำให้น้ำตาไหล.
โศกา
หมายถึงก. ร้องไห้ เช่น รู้ว่าผิดแล้วก็แก้ตัวใหม่ อย่ามัวแต่นั่งโศกาอยู่เลย.
โศกาดูร
หมายถึงก. เดือดร้อนด้วยความโศก, ร้องไห้สะอึกสะอื้น. (ส. โศก + อาตุร).
หยักศก
หมายถึงว. ที่หยิกน้อย ๆ (ใช้แก่ผม).
อัฐศก
หมายถึงน. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๘ เช่น ปีขาล อัฐศก จุลศักราช ๑๓๔๘.
เทศก
หมายถึง[เท-สก] น. ผู้ชี้แจง, ผู้แสดง, ผู้แสดงธรรม. (ส.).