ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ชระลุ, ฉลุ, จรวด, ผลุ, ระทา, พลุ, อาบัน, ลุ, บรรลุ
บรรลุ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
บันลุ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ท้องพลุ
หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้นและต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลำตัวสีเขียวอมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้เรียกปลาแปบบางชนิด. (ดู แปบ ๒).
พลุ
หมายถึง[พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อจุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิงอย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.
ตาลุ
หมายถึง(แบบ) น. เพดานปาก. (ป., ส.).
ลุ
หมายถึงก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสำเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
เลื่อยฉลุ
หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูปยาวรี ด้ามเป็นไม้สำหรับจับ อีกชนิดหนึ่งมีคันทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ ด้ามเป็นไม้ติดอยู่ที่ปลายตอนล่าง ระหว่างปลายคันทั้งคู่ติดใบเลื่อยลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก.
ฉลุ
หมายถึง[ฉะหฺลุ] ก. ปรุ, สลัก.
บรรลุ
หมายถึง[บัน-] ก. ลุ, ถึง, สำเร็จ, เช่น บรรลุมรรคผล, ประลุ ก็ว่า.
ประลุ
หมายถึงก. บรรลุ.
กมัณฑลุ
หมายถึง[กะมันทะ-] (แบบ) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ = ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง. (เสือโค). (ป., ส.).
ดาลุ
มุทะลุ
หมายถึงก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทำลงไปอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผลหรือไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือโดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.