ตัวกรองผลการค้นหา
ลองไน เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ลองใน เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ไม่มีปี่มีกลอง,ไม่มีปี่มีขลุ่ย
หมายถึง(สำ) ก. ไม่มีเค้า เช่น การที่เจ็บนั้นก็ไม่มีปี่มีกลอง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๗).
ลองกอง
หมายถึงน. ชื่อลางสาดพันธุ์หนึ่ง เปลือกหนายางน้อย.
ลองใจ
หมายถึงก. พิสูจน์ว่าจะมีนํ้าใจอย่างที่คาดหมายไว้หรือไม่ เช่น เอาแหวนวางไว้ลองใจคนใช้ว่าจะซื่อสัตย์หรือไม่.
ลองธรรม์
หมายถึง(แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
หัวคลองท้ายคลอง
หมายถึงว. ทั่วทั้งคลอง.
ทะแยกลองโยน
หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
น้ำนอนคลอง
หมายถึงน. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะมีนํ้าหนุนขึ้นมา.
กลอง
หมายถึง[กฺลอง] น. เครื่องตีทำด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรำมะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
หมายถึง[กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทำนองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทำตอนที่เล่นกีฬาท่าต่าง ๆ มีรำดาบ รำง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรำเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายู เครื่องและทำนองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รำกริช.
คลอง
หมายถึง[คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลำนํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
คลองเลื่อย
หมายถึงน. ร่องไม้ที่เลื่อยเลื่อยเข้าไป, แนวฟันของเลื่อย.