ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา โม่ง, ม่ง, มุ่ง, ขง, กะมง,กะม่ง

โม่ง

หมายถึงว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอาผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้าเพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.

ม่ง

หมายถึง(กลอน) ก. มุ่ง.

เหม่ง

หมายถึง[เหฺม่ง] ว. ใส, เป็นมัน.

โหม่ง

หมายถึง[โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.

กะมง,กะม่ง

หมายถึงดู ม่ง ๑.

ทูโม่ง

หมายถึงดู ลัง ๒.

ม่ง

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือสีกุน โดยเฉพาะที่มีขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ในวงศ์ Carangidae มีลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หน้าครีบก้นมีหนามแข็ง ๒ อันพับได้ คอดหางแคบ เกล็ดบนเส้นข้างตัวใหญ่เป็นเหลี่ยมแข็งโดยเฉพาะที่บริเวณคอดหาง ไม่มีสีฉูดฉาด อยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น ชนิด Caranx sexfasciatus, C. melampygus, C. ignobilis, Carangoides gymnostethoides, C. fulvoguttatus และ Alectis ciliaris ปลาเหล่านี้บางชนิดอาจโตยาวได้ถึง ๑.๔ เมตร, กะมง หรือ กะม่ง ก็เรียก.

ฆ้องโหม่ง

หมายถึงน. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอก “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอก “ทุ่ม”.

เหม่ง

หมายถึงว. มีเสียงดังเช่นนั้น.

โหม่ง

หมายถึง[โหฺม่ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ฆ้องคู่. ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง.

ฆ้องเหม่ง

หมายถึงน. ฆ้องขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต หนามาก มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะ.

ทะแม่ง,ทะแม่ง ๆ

หมายถึง(ปาก) ว. มีลักษณะลับลมคมในหรือมีอะไรเคลือบแฝงอยู่ทำให้น่าสงสัย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ