ค้นเจอ 19 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา สมาส, อาขยาต, พจน์

สัจพจน์

หมายถึง[สัดจะ-] น. ข้อความที่ยอมรับในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ว่าจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์. (อ. postulate, axiom).

พหุพจน์,พหูพจน์

หมายถึงน. คำที่กล่าวถึงสิ่งมากกว่าหนึ่ง. (ป., ส. พหุวจน).

ภาพพจน์

หมายถึง[พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).

มธุรพจน์

หมายถึงน. ถ้อยคำไพเราะ; ผู้มีถ้อยคำไพเราะ. (ส. มธุรวจน).

เอกพจน์

หมายถึง[เอกกะ-] (ไว) น. คำที่กล่าวถึงสิ่งเดียว.

ตู่พุทธพจน์

หมายถึงก. อ้างพุทธพจน์ผิด ๆ ถูก ๆ.

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

สุนทรพจน์

หมายถึง[สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ.

อาศิรพจน์

หมายถึงน. คำอวยพร (เป็นคำที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่).

ประพจน์

หมายถึงน. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีความหมายกำกวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).

ปาพจน์

หมายถึงน. คำเป็นประธาน, พุทธวจนะ, คำบาลี. (ป. ปาวจน).

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ