ค้นเจอ 11 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา จู้, คนทา, จี้

หนามจี้

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคนทา. (ดู คนทา).

จู้จี้

หมายถึงดู จี่ ๒.

จักจี้,จั๊กจี้

หมายถึง[จักกะ-, จั๊กกะ-] ก. อาการที่ทำให้รู้สึกเสียวสะดุ้งหรือหัวเราะโดยไม่ตั้งใจเมื่อถูกจี้ที่เอวหรือรักแร้เป็นต้น.

จี้

หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิแล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก.

จู้จี้

หมายถึงก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.

จ้ำจี้

หมายถึงน. การเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.

จี้

หมายถึงน. เครื่องประดับมีรูปเหลี่ยม กลม หรือรี มักทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยเป็นต้น มีห่วงที่กรอบสำหรับห้อยคอ.

จี้

หมายถึงก. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป, เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้สะดุ้ง; ติดตามอย่างกระชั้นชิด เช่น วิ่งจี้หลังมา, ติดตามเร่งรัด เช่น จี้ให้ทำงาน; (ปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทำตาม.

จี้

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคนทา. (ดู คนทา).

บ้าจี้

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือแสดงโดยขาดสติเมื่อถูกจี้ทำให้ตกใจ, ทำตามโดยปราศจากการไตร่ตรองเมื่อถูกยุหรือแนะ.

กระจี้

หมายถึง(ถิ่น-โคราช) น. เมล็ดของต้นแสลงใจ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ