ค้นเจอ 7 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา การก, กัปปิยการก, กรรตุการก

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

การิตการก

หมายถึง[การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทำ, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา “ถูก-ให้” เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท “ยัง” หรือกริยานุเคราะห์ “ให้” เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทำงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน.

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

กัปปิยการก

หมายถึง[-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

การก

หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ