ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา ขาน, ท้อ, ทูล, พร้อง, ภณะ, จรรจา, ว, วทะ, ภาษ, จำนรรจ์, จำนรรจา, ทำนูล
กล่าวหา
หมายถึงก. ฟ้อง, กล่าวโทษ.
กล่าวเกลี้ยง
หมายถึง(กลอน) ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก. (เสือโค).
คำบอกกล่าว
หมายถึง(กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำบอกกล่าวอย่างหนึ่ง.
ว่ากล่าว
หมายถึงก. ตำหนิ, ตักเตือน, เช่น มาทำงานสายเป็นประจำ จึงถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปว่ากล่าว, สั่งสอน เช่น ผู้ใหญ่ว่ากล่าวไม่เชื่อฟัง.
บอกกล่าว
หมายถึงก. ร้องบอกให้ผู้อื่นเป็นพยานรับรู้ไว้.
ป่วยกล่าว
หมายถึงก. เสียเวลาพูด เช่น จะป่วยกล่าวไปไย.
กล่าวขวัญ
หมายถึงก. พูดถึง, พูดออกชื่อและการกระทำของคนอื่น.
กล่าวโอม
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. สู่ขอ.
บนบานศาลกล่าว
หมายถึง(สำ) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ.
กล่าว
หมายถึง[กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คำนี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
กล่าวโทษ
หมายถึงก. แจ้งว่ากระทำผิด.