ค้นเจอ 16 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา กราย, กลาย, หางแพน, ตองกราย, ฟ้อน

หอมกราย

หมายถึง(ถิ่น-จันทบุรี) น. ต้นขี้อ้าย. [ดู ขี้อ้าย (๑)].

หางกราย

หมายถึงน. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทำยา. (พจน. ๒๔๙๓)

กราย

หมายถึง[กฺราย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia malayana Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae เนื้อไม้ผ่าง่าย ใช้ทำฟืนและกระเบื้องไม้มุงหลังคา.

ย่างกราย

หมายถึงก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไปไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย.

เยื้องกราย

หมายถึงก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายในการตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).

มีดกราย

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ รูปเพรียวยาว หัวตัด ใช้ถือกรีดกราย, พร้ากราย พร้าโอ หรือ มีดโอ ก็เรียก.

ตองกราย

หมายถึงดู กราย ๑.

มหาดเล็กรายงาน

หมายถึง(โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น; ชื่อตำแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.

เยี่ยมกราย

หมายถึงก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย.

นางกราย

หมายถึงน. ท่ารำชนิดหนึ่งที่หมอช้างรำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว.

กราย

หมายถึง[กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคำ กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.

กรุยกราย

หมายถึงว. เดินทำทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ