ตัวกรองผลการค้นหา
หรือคุณกำลังค้นหา กรณีย, กรณีย-, กรัณย์, จาตุกรณีย์, กรณี, แปรผัน
สัตตาหกรณียะ
หมายถึง[สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
ราชกรณียกิจ
หมายถึงน. หน้าที่ที่พระราชาพึงกระทำ ใช้ว่า พระราชกรณียกิจ.
พันธกรณี
หมายถึง[พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็นข้อผูกมัด.
กรณีย-
หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. กิจ. ว. อันควรทำ, อันพึงทำ. (ป.).
อกรณีย์
หมายถึง[อะกะระนี, อะกอระนี] น. กิจที่ไม่ควรทำ. (ป.).
กรณี
หมายถึง[กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทำ).
กรณีย
กรณียกิจ
หมายถึงน. กิจที่พึงทำ, หน้าที่อันพึงทำ.
สันทัดกรณี
หมายถึง[สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี] ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ.
คู่กรณี
หมายถึงน. ผู้ที่เกิดพิพาทกัน; (กฎ) บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
จาตุกรณีย์
หมายถึงน. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
สกรณีย์
หมายถึง[สะกะระ-] (แบบ) น. ผู้ยังมีหน้าที่จะต้องทำ. (ป.).