ตัวกรองผลการค้นหา
แกะ
หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae รูปร่างคล้ายแพะ แต่มีขนเป็นปุยหนา ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม.
หมายถึงก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทำเช่นนั้น, ทำเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่นหรือกอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กำแน่น.
จับแพะชนแกะ
หมายถึงก. ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทนเพื่อให้ลุล่วงไป.
จัมบก,จัมปกะ
หมายถึง[จำบก] (แบบ) น. ต้นจำปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
ตักกะ
หมายถึง(แบบ) น. ตรรก, ความตรึก, ความคิด. (ป. ตกฺก).
ทาฐิกะ,ทาฒิกะ
หมายถึง(ราชา) น. หนวด (ที่คาง), เครา. (ป. ทาิก; ส. ทาฒิก).
เทววาจิกะ
หมายถึงว. ที่ทำด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.
นพกะ
หมายถึง[นบพะ-] น. ผู้ใหม่. (ป. นวก).
เนมิตก,เนมิตก-,เนมิตกะ
หมายถึง[เนมิดตะกะ-] (แบบ) น. หมอดูทายลักษณะหรือโชคลาง. (ป. เนมิตฺตก).
เบญจโลหกะ
หมายถึงน. แร่ทั้ง ๕ คือ ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว ดีบุก.
ปกิณกะ
หมายถึง[ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
ผลิก,ผลิก-,ผลิกะ
หมายถึง[ผะลิกะ-] น. ผลึก. (ป.).