ตัวกรองผลการค้นหา
ภระมรี
หมายถึง[พฺระมะรี] น. ภมรี.
จีวรกรรม
หมายถึง(แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
พาลรีพาลขวาง
หมายถึง(สำ) ว. ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท.
รี ๆ ขวาง ๆ
หมายถึงก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆ ไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆ ก็ว่า. ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้าง เช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้าม มัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ.
อุปัชฌายวัตร
หมายถึง[อุปัดชายะวัด, อุบปัดชายะวัด] น. กิจที่สัทธิงวิหาริกจะต้องปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ของตน. (ป. อุปชฺฌายวตฺต).
วิทย,วิทย-
หมายถึง[วิดทะยะ-] น. วิทยา.
ประ,ประ-,ประ-
หมายถึง[ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
มัตสยะ,มัตสยา
หมายถึง[มัดสะยะ, มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย; ป. มจฺฉ).
มาตามหัยกะ
หมายถึง[-มะไหยะกะ] (ราชา) น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).
ยวาคุ
หมายถึง[ยะวา-] น. ยาคู. (ส.).
ศักย,ศักย-,ศักย-
หมายถึง[สักกะยะ-] ว. อาจ, สามารถ. (ส.).
จริย,จริย-
หมายถึง[จะริยะ-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติ, ใช้ในคำสมาส เช่น จริยศึกษา. (ป.).