ตัวกรองผลการค้นหา
ประชากรศาสตร์
หมายถึงน. การศึกษาทางสถิติเกี่ยวกับประชากรในแง่อัตราการเกิด การตาย การย้ายถิ่น และการกระจาย เป็นต้น รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจ.
สำเร็จ
หมายถึงก. เสร็จ เช่น สำเร็จการศึกษา; ถึง, บรรลุ, เช่น สำเร็จโสดา. ว. ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่น เครื่องแกงสำเร็จ, ได้ผลสมประสงค์ เช่น วางแผนการขายสินค้าได้สำเร็จ.
ศิษย,ศิษย-,ศิษย์
หมายถึง[สิดสะยะ-, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้วนับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
มหาวิทยาลัย
หมายถึง[มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งดำเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
เคมีอินทรีย์
หมายถึงน. วิชาเคมีแขนงที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับสารประกอบทั้งสิ้นของธาตุคาร์บอน ยกเว้นเรื่องสารประกอบออกไซด์ สารประกอบซัลไฟด์ และโลหะคาร์บอเนต. (อ. organic chemistry).
รายงาน
หมายถึงน. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ.
สอบความถนัด
หมายถึงก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.
สัทวิทยา
หมายถึง[สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษาโดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).
โบราณคดี
หมายถึง[โบรานนะคะดี, โบรานคะดี] น. วิชาที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถาน, เดิมใช้ โบราณคดีวิทยา.
ปฐพีวิทยา
หมายถึง[ปะถะพีวิดทะยา, ปัดถะพีวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน. (อ. pedology).
ภูมิศาสตร์ประวัติ
หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
รากฐาน
หมายถึงน. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับสำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็นรากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.