ค้นเจอ 970 รายการ

เรือเท้ง

หมายถึงน. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็นปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ; เรือต่อชนิดหนึ่งหัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ.

เรือโบต

หมายถึงน. เรือเล็กเป็นส่วนอุปกรณ์ของเรือเดินทะเลขนาดใหญ่.

เรือใบ

หมายถึงน. เรือต่อชนิดหนึ่งที่แล่นด้วยกำลังลมโดยมีเสากระโดงสำหรับขึงผ้าใบเพื่อรับลม ถ้าใช้เดินทะเลเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้าจะเป็นเรือขนาดใหญ่ ถ้าใช้เพื่อการกีฬาจะเป็นเรือขนาดเล็กซึ่งมีอยู่หลายประเภท เช่น ประเภทโอเค ประเภทซูเปอร์มด ประเภทเอนเตอร์ไพรซ์.

เรือประมง

หมายถึงน. เรือกลไฟขนาดใหญ่ที่ใช้จับปลาในทะเลลึก มักมีเครื่องอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้จับปลา แช่ปลา และทำปลาด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อยู่ในทะเลได้หลาย ๆ สัปดาห์.

เรือป๊าบ

หมายถึงน. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน ไม่เสริมกราบ หัวและท้ายเรือป้าน ลักษณะคล้ายเรืออีแปะสำหรับใช้สอยทั่วไปตามริมหนอง คลอง บึง.

เรือม่วง

หมายถึงน. เรือขุดรูปคล้ายเรือมาด แต่ยาวกว่า รูปร่างเพรียว หัวงอน ท้ายสั้น เป็นเรือที่คหบดีนิยมใช้กันในสมัยก่อน.

เรือหมู

หมายถึงน. เรือขุดชนิดเล็กลักษณะคล้ายเรือพายม้า แต่หัวจะเรียวเล็กกว่าเรือพายม้ามาก.

ประนัง

หมายถึงก. ประชุม, รวม, เช่น ประนังศัพท์ ว่า ประชุมเสียง, ประนังพล ว่า รวมพล. ว. พร้อม.

แล่นใบบนบก

หมายถึง(สำ) ก. คิดทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.

เรือกลไฟ

หมายถึงน. เรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในทะเลหรือมหาสมุทร.

เรือโขมดยา

หมายถึงน. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้.

เรือชา

หมายถึงน. เรือที่ขายเครื่องหอมต่าง ๆ มีแป้งและน้ำหอมเป็นต้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ