ค้นเจอ 241 รายการ

บอกบท

หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.

เสียงทอง

หมายถึงว. มีเสียงเพราะเป็นพิเศษทำให้มีคนนิยมมาก เช่น เขาเป็นนักร้องเสียงทอง.

ฮ้าไฮ้

หมายถึงอ. เสียงลูกคู่ร้องรับในเพลงบางชนิด เช่นเพลงเห่เรือ.

กรี๊ดกร๊าด

หมายถึงว. อาการที่เปล่งเสียงร้องอุทานแสดงความพอใจเป็นต้น.

เชียร์

หมายถึงก. ให้กำลังใจด้วยการตะโกนโห่ร้อง ใช้ในการแข่งขัน. (อ. cheer).

กรรโหย

หมายถึง[กัน-] (โบ; กลอน) ก. โหย, คร่ำครวญ, เช่น มีกระเรียนร้องก้องกรรโหย. (สมุทรโฆษ).

สมโพธน์

หมายถึงน. คำร้องเรียก, คำอาลปนะในไวยากรณ์. (ส. ว่า การร้องเรียก, การปราศรัย).

ร่าย

หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ; ทำนองร้องอย่างหนึ่งของละครรำ เรียกว่า ร้องร่าย.

อกทะเล

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง มักร้องหรือบรรเลงเป็นเพลงลา.

อายัด

หมายถึง(กฎ) ก. ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง.

กระกรี๊ด

หมายถึง(กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

เห่

หมายถึงน. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้ายบทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และนักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ