ค้นเจอ 150 รายการ

ประเด็น

หมายถึงน. ข้อความสำคัญของเรื่องที่แยกหยิบยกขึ้นพิจารณา; (กฎ) ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญที่คู่ความยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคดี.

เลี้ยงความ

หมายถึงก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกันถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความที่ต้องยืดเยื้อออกไป.

อาญา

หมายถึงน. อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺา); (กฎ) คดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับคดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.

นิติเวชศาสตร์

หมายถึงน. วิชาที่ว่าด้วยการใช้หลักทางการแพทย์ช่วยแก้ปัญหาทางกฎหมาย และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีความ. (อ. forensic medicine).

ศาลแพ่ง

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น.

สำนวนความ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้น ซึ่งประกอบเป็นสำนวนของคดี.

ลึกลับ

หมายถึงว. เร้นลับจนเหลือรู้เหลือเห็น หรือที่เข้าใจได้ยาก, ยากที่จะสืบสาวราวเรื่องได้ หรือที่สืบสาวราวเรื่องได้ยาก, เช่น เรื่องลึกลับ คดีลึกลับ คนลึกลับ.

ศาลอุทธรณ์

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอำนาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.

ปฏิวัติ

หมายถึงน. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).

ประกฤติ

หมายถึง[-กฺริด, -กฺริติ] (แบบ) น. มูลเดิม, ที่เกิด, รากเหง้า; ความเป็นไปตามธรรมดา, ความเป็นไปตามปรกติ, ลักษณะ; กฎ, เกณฑ์, แบบเดิม. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).

คำฟ้อง

หมายถึง(กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.

ผิดนัด

หมายถึงก. ไม่ไปตามนัด, ไปไม่ตรงตามเวลาที่นัดไว้; (กฎ) การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา หรือการที่เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ