ค้นเจอ 121 รายการ

ประพจน์

หมายถึงน. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมีความหมายกำกวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).

ปาพจน์

หมายถึงน. คำเป็นประธาน, พุทธวจนะ, คำบาลี. (ป. ปาวจน).

พจนารถ

หมายถึง[พดจะนาด] น. เนื้อความของคำพูด. (ส.).

พูดจนลิงหลับ

หมายถึง(ปาก) ก. พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้มไปตาม.

วัญจนะ

หมายถึง[วันจะนะ] (แบบ) น. การหลอกลวง, การปลอม, การคดโกง; เครื่องลวง, เครื่องหลอก, ของไม่จริง. (ป., ส.).

เวโรจน์

หมายถึงน. ความรุ่งเรือง, ความสุกใส. (ป.; ส. ไวโรจน).

โศจนียะ

หมายถึง[-จะ-] ว. อันน่าโศก, น่าเศร้าใจ. (ส.).

สัจนิยม

หมายถึง[สัดจะ-] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).

สายสิญจน์

หมายถึงน. ด้ายดิบสีขาวที่นำมาจับทบเป็น ๓ เส้น หรือ ๙ เส้น ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่นสำหรับพระถือในเวลาสวดมนต์ หรือพราหมณ์ใช้ในพระราชพิธีบางอย่าง.

อาศิรพจน์

หมายถึงน. คำอวยพร (เป็นคำที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่).

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

คำไวพจน์

หมายถึงดู ไวพจน์

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ