ค้นเจอ 196 รายการ

สมถ,สมถ-,สมถะ

หมายถึง[สะมะถะ-] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).

กัตรทัณฑ์

หมายถึง[กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).

กระเกรอก

หมายถึง[-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).

กษีร,กษีร-,กษีระ

หมายถึง[กะสีระ] (แบบ) น. นํ้านม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).

กุมภนิยา

หมายถึงน. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.

นิพิท,นิเพท

หมายถึง[นิพิด, นิเพด] (แบบ) ก. ให้รู้ชัด, บอก. (ป. นิ + วิท).

สรทะ

หมายถึง[สะระ-] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท).

กรู

หมายถึง[กฺรู] น. ข้าวชนิดที่ทำเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกรู.

อนุบท

หมายถึงน. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).

ลาญทัก

หมายถึง(โบ) ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย. (แช่งน้ำ).

ทะนานหลวง

หมายถึงน. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท.

บริบท

หมายถึง[บอริบด] (ไว) น. คำหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ