ค้นเจอ 140 รายการ

โคบุตร

หมายถึง[-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิวเหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).

วิชชุลดา

หมายถึง[วิดชุละ-] น. สายหรือประกายไฟฟ้า, สายฟ้าแลบ. (ป. วิชฺชุลฺลตา; ส. วิทฺยุลฺลตา); ชื่อกาพย์ประเภทหนึ่ง, คู่กับ มหาวิชชุลดา.

นาโครคินทระ

หมายถึง[นาโคระคินทฺระ] (แบบ) น. พญานาค เช่น อันว่าพระญานาโครคินทรกคำนึง. (นันโท). (ส. นาค + อุรค + อินฺทฺร).

คู่โค

หมายถึง(โบ) น. นาที่ต้องเสียค่านาตามหน้าโฉนดทุก ๆ ปี ผิดกับนาฟางลอย ซึ่งต้องเสียค่านาแต่เฉพาะในปีที่ปลูกข้าว. [“ที่เรียกว่า นาคู่โค เพราะวิธีเก็บหางข้าวนาชนิดนี้นับจำนวนโค (กระบือ) ที่ใช้ทำนาในที่นั้น ๆ ด้วยถือเป็นยุติว่า โคคู่หนึ่งคงจะทำนาในที่เช่นนั้นได้ผลประมาณปีละเท่านั้น เอาเกณฑ์จำนวนโคขึ้นตั้งเป็นอัตราหางข้าวที่จะต้องเสีย เพราะฉะนั้น นาคู่โค ถึงจะทำหรือมิทำจึงต้องเสียหางข้าว” -พงศ. ร. ๒].

กลัมพร

หมายถึง[กะลำพอน] (แบบ) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทำกลัมพรภัย. (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย. (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กระลำพร หรือ กระลำ ก็มี.

ละครลิง

หมายถึงน. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.

ดอกดั้ว

หมายถึง(โบ) น. นมผู้หญิง, ผู้หญิง; เขาสัตว์ที่นิยมว่าเป็นของวิเศษ (คุ้มไฟไหม้บ้าน) เช่น เขาวัวบางชนิด ในตำราเขาพระโค เรียกว่า เขาดอกดั้ว.

ชงโลง

หมายถึงน. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).

กามวิตถาร

หมายถึง[กามวิดถาน] น. การประกอบกามกิจที่ผิดปรกติวิสัย เช่น รักร่วมเพศ, การทรมานตนหรือผู้อื่นก่อนหรือในระหว่างร่วมเพศ. ว. ผิดปรกติทางเพศเช่นนั้น.

สัทวิทยา

หมายถึง[สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษาโดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).

กระไตร

หมายถึง(โบ; กลอน) น. ชื่อเหยี่ยวชนิดหนึ่ง เรียกว่า เหยี่ยวกระไตร เช่น กระไตรตระไนตรู. (เสือโค), เขาคุ่มกระตรุมกระไตร. (สรรพสิทธิ์), ตะไกร ก็เรียก.

โฆษก

หมายถึง[โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ