ค้นเจอ 119 รายการ

สิ

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวย เป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำ เป็นต้น เช่น ไปสิ มาสิ, ซิ หรือ ซี ก็ว่า.

ซิ,ซี

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.

เลือน,เลือน ๆ

หมายถึงว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกำแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).

ดอก

หมายถึงว. คำประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทำไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้วโลมคืน. (ม. คำหลวง ชูชก).

รัดรูป

หมายถึงว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทำให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูป ซึ่งทำให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.

อลึ่งฉึ่ง

หมายถึง[อะหฺลึ่ง-] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียกอาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.

ไหว ๆ

หมายถึงว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็นคนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.

เหา

หมายถึงน. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามีหนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.

สงวนท่าที,สงวนทีท่า

หมายถึงก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.

คลุมเครือ

หมายถึงว. ลักษณะที่กํ้ากึ่งเอาแน่นอนทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เช่น อากาศที่จะมืดก็ไม่มืด จะสว่างก็ไม่สว่าง เรียกว่า อากาศคลุมเครือ, อาการไข้ที่จะหายก็ไม่หาย จะหนักก็ไม่หนัก เรียกว่า ไข้คลุมเครือ, พูดไม่บ่งชัดไปทางใดให้จะแจ้ง เรียกว่า พูดคลุมเครือ.

บ่ง

หมายถึงก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทำของเขาบ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทำผิด; ใช้ของแหลม ๆ แทงที่เนื้อเพื่อเอาหนามเป็นต้นที่ฝังอยู่ในเนื้อหรือหนองออก เช่น บ่งหนาม บ่งหนอง.

วิสามานยนาม

หมายถึง[วิสามานยะนาม] (ไว) น. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร เช่น นายดำ ช้างเอราวัณ เรือสุพรรณหงส์ จังหวัดเชียงใหม่.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ