ค้นเจอ 140 รายการ

ปะเลง

หมายถึงน. การรำเบิกโรงอย่างโบราณ ผู้แสดงแต่งเครื่องละครตัวพระคู่หนึ่ง สวมหน้าเทพบุตรศีรษะโล้น มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าประกอบดนตรี.

กลอง

หมายถึง[กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทำนองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทำตอนที่เล่นกีฬาท่าต่าง ๆ มีรำดาบ รำง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรำเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายู เครื่องและทำนองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รำกริช.

เล็บนาง

หมายถึงน. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลาฟ้อนรำ.

ละครใน

หมายถึงน. ละครรำแบบหนึ่ง เดิมมีเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ตัวละครเป็นหญิงล้วน เครื่องแต่งตัวและกระบวนรำประณีตงดงาม ดนตรีไพเราะ แสดงเฉพาะ ๔ เรื่อง คือ อิเหนา ดาหลัง รามเกียรติ์ และอุณรุท.

มโนราห์

หมายถึงน. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.

แม่บท

หมายถึงน. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรำ, แม่ท่า ก็เรียก.

นฤตย,นฤตย-,นฤตย์

หมายถึง[นะริดตะยะ-, นะริด] น. การระบำ, การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. (ส.).

นาฏย,นาฏย-

หมายถึง[นาดตะยะ-] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).

โผะ

หมายถึงว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทำพิธีบำรูงาช้าง เป็นการเยาะเย้ยเมื่อรำท่าต่าง ๆ แล้ว.

รัดเครื่อง

หมายถึงก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.

หงส์ลีลา

หมายถึง[หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).

กระต่ายชมจันทร์

หมายถึงน. ท่ารำละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ