ค้นเจอ 95 รายการ

โอปปาติกะ

หมายถึง[โอปะ-] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).

การก

หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

เจษฎา

หมายถึง[เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารำ; กรรม, การทำด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทำ, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).

กรรมขัย

หมายถึง[กำมะไข] (โบ) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตาย แลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล. (ไตรภูมิ). (ส. กรฺม + ป. ขย).

ภาระจำยอม

หมายถึง(กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม.

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

แล้วแต่

หมายถึงว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่.

สนอง

หมายถึง[สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนองโครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).

ธรณีสูบ

หมายถึงก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลงหายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.

ตายดาบหน้า

หมายถึงก. มุ่งเสี่ยงไปข้างหน้า, เสี่ยงหนีเหตุการณ์ร้ายปัจจุบันไปเผชิญชีวิตข้างหน้า, มีทิฐิมานะที่จะต่อสู้กับเคราะห์กรรมเอาข้างหน้า, เสี่ยงทำไปก่อน แล้วค่อยคิดแก้เหตุการณ์ภายหลัง.

กลูน,กลูน์

หมายถึง[กะลูน, กะลู] (แบบ) ก. กรุณา เช่น ทุษฐโจรรันทำ กรรมแก่บดีสูร ยศใดบกลูน และมาลักอัครขรรค์. (สมุทรโฆษ). ว. น่าสงสาร เช่น สลดกลูน์ลุงทรวง. (สุธน). (ป.).

อจินไตย

หมายถึง[-จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ