ตัวกรองผลการค้นหา
จริยวัตร,จริยาวัตร
หมายถึงน. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.
จริยศึกษา
หมายถึงน. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติและการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. (อ. moral education).
จรึง
หมายถึง[จะ-] (กลอน) ก. กรึง, ตรึง, เช่น เทียบที่ถมอก่อภูเพียง บรรพตจรึงเรียง. (ดุษฎีสังเวย).
จรุก
หมายถึง[จะหฺรุก] (แบบ) น. หมู. (จินดามณี). (ข. ชฺรูก).
เจริญตาเจริญใจ
หมายถึงว. งาม, ต้องตาต้องใจ.
เจริญรอย
หมายถึงก. ประพฤติ เช่น เจริญรอยตามผู้ใหญ่.
เจริด
หมายถึง[จะเหฺริด] (แบบ) ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
เจรียง
หมายถึง[จะเรียง] (แบบ) ก. ขับลำ, ขับกล่อม, ร้องเพลง. (ข. เจฺรียง).
โจรกรรม
หมายถึง[โจระกำ, โจนระกำ] น. การลัก, การขโมย, การปล้น. (ส.; ป. โจรกมฺม).
ใจร้าย
หมายถึงว. ดุร้าย, ไม่ปรานี.
ไจร
หมายถึง[ไจฺร] (กลอน) จร, จากไป, เช่น แลเอกจักร เจียรไจร. (สมุทรโฆษ).
ฉกามาพจร,ฉกามาวจร
หมายถึง[ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).