ค้นเจอ 136 รายการ

อาการ,อาการ-

หมายถึง[อากาน, อาการะ-] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).

ทีฆสระ

หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.

พนา

หมายถึงน. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).

อาศิรพิษ,อาศิรวิษ,อาศีรพิษ,อาศีรวิษ

หมายถึงน. “ผู้มีพิษในเขี้ยว” คือ งู, อสรพิษ. (ส. อาศีรวิษ, อาศีวิษ; ป. อาสีวิส).

คชาชีพ

หมายถึงน. คนเลี้ยงช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง. (ป. คช + อาชีว).

อาลปน์,อาลปนะ

หมายถึง[อาลบ, อาละปะนะ] น. การพูด, การสนทนา, การเรียก, การทักทาย; ในไวยากรณ์ หมายถึง คำที่ใช้เรียกหรือทักทายผู้ที่ตนจะพูดด้วย เช่น “นายแดง แกจะไปไหน” คำ “นายแดง” เป็นอาลปนะ. (ป., ส.).

อาจิณ

หมายถึง[-จิน] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).

อาจิณสมาจาร

หมายถึง[อาจินนะสะมาจาน] น. มรรยาทที่เคยประพฤติมาจนติดเป็นนิสัย. (ป. อาจิณฺณสมาจาร).

อาบัน

หมายถึงก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ; ถึง, ลุ, เช่น โสดาบัน ว่า ถึงโสตธรรม คือ กระแสพระนิพพาน. (ป., ส. อาปนฺน).

กำลุง

หมายถึง(แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กำลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).

กฤดยาเกียรณ

หมายถึง[กฺริดดะยาเกียน] (แบบ) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยากยรณ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).

อาเทศ

หมายถึง[-เทด] น. การแนะนำ, คำชี้แจง, คำบอกเล่า, คำสั่ง, กฎ. (ส.; ป. อาเทส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ