ค้นเจอ 89 รายการ

เปลื้อง

หมายถึง[เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่), ทำให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์ เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.

เก้อ

หมายถึงว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทำอะไรผิดพลาดไป เช่น ทำหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทำแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รำเก้อ เรือนหลังนี้ทำไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.

เรี่ยม

หมายถึงว. สะอาด, หมดจด, เอี่ยมอ่อง, เช่น แต่งตัวเรี่ยม หน้าตาเรี่ยม ขัดพื้นเสียเรี่ยม; วิเศษ, ดีเยี่ยม, เช่น ถ้าสอบได้ที่ ๑ ก็เรี่ยม ได้บรรจุงานก็เรี่ยม.

สังเกต

หมายถึงก. กำหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).

หมดท่า

หมายถึงว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดินหกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.

เฉี่ยว

หมายถึงก. กิริยาของนกที่โฉบลงมาคว้าอาหารไปโดยเร็ว, อาการที่กระทบหรือเสียดสีไปโดยเร็ว เช่น รถเฉี่ยวคน. (ปาก) ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิงคนนี้แต่งตัวเฉี่ยว.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

สาธารณ,สาธารณ-,สาธารณะ

หมายถึง[สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).

ทรงเครื่อง

หมายถึงก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).

บานพับ

หมายถึงน. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.

ละครชาตรี

หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.

ลอกคราบ

หมายถึงก. กิริยาที่สัตว์บางชนิดเอาคราบออก เช่น งูลอกคราบ ปูลอกคราบ กุ้งลอกคราบ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นถูกบังคับหรือถูกล่อลวงให้ถอดหรือปลดเครื่องแต่งตัวหรือทรัพย์สินไปจนหมดตัว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ