ตัวกรองผลการค้นหา
สวะ
หมายถึง[สะหฺวะ] (กลอน) ก. สละ เช่น สวะบาปแสวงบุญบท ที่แล้ว. (ยวนพ่าย).
โลกันตร์
หมายถึงน. ชื่อนรกขุมหนึ่งเป็นที่ลงโทษที่หนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด. (ป. โลกนฺตร ว่า ระหว่างโลก; ส. ว่า โลกอื่น).
ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง
หมายถึง(สำ) น. อำนาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยังไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสำนวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยังไม่รู้สึก.
ปร,ปร-
หมายถึง[ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
ทำนองเสนาะ
หมายถึงน. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
บอกบท
หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.
ทัณฑวิทยา
หมายถึง[ทันทะ-] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา. (อ. penology).
ละเว้น
หมายถึงก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคนถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น.
ร่ายยาว
หมายถึงน. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรคถัดไปที่คำใดก็ได้ สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ.
ช้า
หมายถึงน. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละครอื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
ประชาทัณฑ์
หมายถึงน. การที่ฝูงชนกลุ้มรุมทำร้าย เป็นการลงโทษบุคคลที่ตนเข้าใจหรือนึกว่ามีความผิด โดยไม่ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม.
อาขยาน
หมายถึง[-ขะหฺยาน, -ขะยาน] น. บทท่องจำ; การเล่า, การบอก; การสวด; เรื่อง, นิทาน. (ส.; ป. อกฺขาน).