ตัวกรองผลการค้นหา
คทา เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
คฑา, คธา เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ภัณฑารักษ์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
พันธารักษ์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
วินาที เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
วินาฑี เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กลิ้งทูตล้มขร เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
กลิ้งฑูตล้มขอน เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กกุธภัณฑ์
หมายถึง[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กมณฑโลทก
หมายถึง[กะมนทะ-] (แบบ) น. นํ้าในหม้อ เช่น ชำระพระองค์ด้วยกมณฑโลทก. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อน้ำ + อุทก = นํ้า).
กรีฑาภิรมย์
หมายถึงว. น่ารื่นรมย์ยิ่งในกรีฑา, (โบ) ใช้ว่า กรีธา ก็มี เช่น แห่งอรอาตมชายา อันกรีธาภิรมย์. (ม. คำหลวง ทศพร).
กรีฑารมย์
หมายถึงว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์. (สมุทรโฆษ).
กัตรทัณฑ์
หมายถึง[กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).
กามกรีฑา
หมายถึงน. ชั้นเชิงในทางกาม. (ส.).
กุณฑล
หมายถึง[-ทน] น. ตุ้มหู. (ป., ส.).
กุณฑี
หมายถึง[-ที] น. คนที, หม้อนํ้า, หม้อนํ้ามีหู, เต้านํ้า, เช่น พลูกัดชลกุณฑี ลูกไม้. (โลกนิติ). (ป., ส.).