ค้นเจอ 139 รายการ

ปล่อยปลาลงน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยเสือเข้าป่า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า.

กล่าวเกลี้ยง

หมายถึง(กลอน) ก. พูดเพราะ เช่น กล่าวเกลี้ยงไมตรีชวนชัก. (เสือโค).

นรพยัคฆ์

หมายถึง[นอระ-] น. สมิงมิ่งชาย คือ คนเก่งกาจราวกับเสือ. (ป.).

คลึงเคล้า

หมายถึงก. ลูบคลำ, ทั้งคลึงทั้งเคล้า, ลูบคลำกอดรัด, เกลือกกลั้วอย่างกิริยาที่แมลงภู่คลึงเคล้าดอกไม้.

ภมร

หมายถึง[พะมอน] น. แมลงผึ้ง, แมลงภู่, ใช้ว่า ภุมระ ก็มี; เครื่องกลึง. ก. หมุน. (ป.; ส. ภฺรมร).

ตะปบ

หมายถึงก. ตบด้วยอุ้งมือหรืออุ้งเท้าหน้า เช่น เสือตะปบ, ปบ ก็ว่า.

ทู

หมายถึง(กลอน) ว. สอง เช่น ลูกเสือสนองคำโคทู. (เสือโค).

ทอดทฤษฎี

หมายถึง(แบบ) ก. มองไปรอบ ๆ, ตั้งใจดู, เช่น เวลาท่านทอดทฤษฎี. (เสือโค).

อชิน

หมายถึงน. หนังรองนั่งของนักพรต; หนังสัตว์, หนังเสือ. (ป., ส.).

ไกรศร,ไกรสร

หมายถึง[ไกฺรสอน] (กลอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอนกาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (แผลงมาจาก เกสรี).

ใจดี

หมายถึงว. มีใจเมตตากรุณา, ไม่โกรธง่าย; คุมใจไว้ให้มั่น เช่น ใจดีสู้เสือ.

กระกอง,ตระกอง

หมายถึง(แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม. (เสือโค).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ