ตัวกรองผลการค้นหา
โยพนมัท
หมายถึง[โยบพะนะมัด] น. ความมัวเมาในความเป็นคนหนุ่มสาว, ความพลาดพลั้งเพราะความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว. (ป. โยพฺพนมท).
เคล่าคล่อง
หมายถึง[เคฺล่าคฺล่อง] (กลอน) ก. แคล่วคล่อง เช่น หลบหลีกเคล่าคล่องทำนองยุทธ. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
รัฐประศาสนศาสตร์
หมายถึง[รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหารและการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด.
ขอบ
หมายถึงก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคำความมนตรี. (ลอ).
ชปโยค
หมายถึง[ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
ประโยค
หมายถึง[ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
แครง
หมายถึง[แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทำด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจำรัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
จญ
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
ธริษตรี,ธเรษตรี
หมายถึง[ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทาธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
ยติภังค์
หมายถึงน. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คำไม่หมดตรงที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท- ธวิสุทธศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น - ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคำเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
โยชนา
หมายถึง[โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).
ตรมวล
หมายถึง[ตฺรม-วน] (โบ) น. ตำบล เช่น เขาแก้วว่าวงกาจล ตรมวลใดท้าวธบอก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).