ตัวกรองผลการค้นหา
ต้ม
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าวข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าวอย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
ตื้อ
หมายถึงว. ทึบ เช่น มืดตื้อ สมองตื้อ; แน่นอึดอัด เช่น อิ่มตื้อ ท้องตื้อ; เรียกดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งว่า อ้ายตื้อ หรือ อีตื้อ; เรียกข้าวเหนียวนํ้ากะทิในพิธีเลี้ยงว่า อ้ายตื้อ.
รังแตน
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายนางเล็ดแต่ไม่โรยนํ้าตาลเคี่ยว ทำด้วยข้าวเหนียวนึ่งแผ่เป็นแผ่นกลม ตากแห้ง ทอดนํ้ามันให้พอง มีรสเค็ม ๆ หวาน ๆ, ข้าวแตน ก็เรียก.
เข่ง
หมายถึงน. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลำไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางในเข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
กินสี่ถ้วย
หมายถึงก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง].
ข้าวหลามตัด
หมายถึงน. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก็เรียก.
บ๊ะจ่าง
หมายถึงน. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).
ข้าวเม่า
หมายถึงน. ข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบน, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้หั่นทอด เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่.
สังขยา
หมายถึง[-ขะหฺยา] น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทำด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และกะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ; ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง.
ศิลาอ่อน
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวนวดปนกับแป้งถั่วเขียวเล็กน้อย ผสมน้ำเชื่อมกวนในกะทิข้น ๆ ให้สุกจนเหนียว ตักใส่ถาด โรยหน้าด้วยถั่วลิสงคั่วซอยเป็นต้น.
ปิ้ง
หมายถึงก. ทำให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ มักใช้แก่ของแห้ง โดยปรกติใช้เวลาน้อยกว่าย่าง เช่น ปิ้งข้าวเกรียบ ปิ้งเนื้อเค็ม ปิ้งปลาแห้ง. ว. ที่ทำให้สุกด้วยวิธีเช่นนั้น เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง กล้วยปิ้ง หมูปิ้ง.
ปน
หมายถึงก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.