ตัวกรองผลการค้นหา
สารประโยชน์
หมายถึง[สาระ-] น. ประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร เช่น สารประโยชน์ของกฎหมายฉบับนี้ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน, สารัตถประโยชน์ ก็ว่า.
หัสต์
หมายถึง[หัด] น. หัตถ์, มือ. (ส.; ป. หตฺถ).
ประหัตประหาร เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร เป็นคำที่เขียนผิด ❌
ตรีศูล
หมายถึงน. หลาวสามง่ามเป็นศัสตราประจำหัตถ์พระอิศวร.
หัวเข้า
หมายถึงน. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนเข้าอยู่ภายในเส้นกรอบของตัวอักษร เช่น ตัว ถ ตัว ผ, ตรงข้ามกับ หัวออก. (ดู หัวออก).
ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ
หมายถึง(สำ; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัว ก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).
รูปฌาน
หมายถึง[รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.
อนิจกรรม
หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
ทูร,ทูร-
หมายถึง[ทูระ-] ว. คำประกอบหน้าคำศัพท์ หมายความว่า ไกล เช่น ทูรบถ ทูรมรรคา ว่า ทางยาว, ทางไกล. (ป.).
เพลง
หมายถึง[เพฺลง] น. สำเนียงขับร้อง, ทำนองดนตรี, กระบวนวิธีรำดาบรำทวนเป็นต้น, ชื่อการร้องแก้กัน มีชื่อต่าง ๆ เช่น เพลงปรบไก่ เพลงฉ่อย; โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง. (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง. (อภัย).
รำพึง
หมายถึงก. คิดถึง, คิดคำนึงอยู่ในใจ, เช่น เขารำพึงถึงความหลังด้วยความเศร้าใจ. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง.
กำลอง
หมายถึง(โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).