ค้นเจอ 288 รายการ

พื้นฐาน

หมายถึงน. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลักความรู้เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.

โยชนา

หมายถึง[โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

สมาส

หมายถึง[สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).

เข้าหม้อ

หมายถึง(ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา.

นิรุกติศาสตร์

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคำ. (ส.).

แปลร้อย

หมายถึงก. แปลเอาความโดยยกศัพท์บาลีมาคั่นไว้.

สอบซ่อม

หมายถึงก. สอบเพื่อให้ผ่านวิชาที่เคยสอบตก.

สุขวิทยา

หมายถึงน. วิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษา.

สูทศาสตร์

หมายถึง[สูทะ-] น. วิชาทำกับข้าว.

วนศาสตร์

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยการทำนุบำรุงรักษา และปลูกป่า.

เข้าตู้

หมายถึง(ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า “วิชาเข้าตู้” ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจำได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตำราที่เก็บไว้ในตู้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ