ค้นเจอ 134 รายการ

นพ,นพ-

หมายถึง[นบ, นบพะ-] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).

ฐานียะ

หมายถึง(แบบ) ว. ควรแก่ตำแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).

พยุหร

หมายถึง[พะยุหอน] น. เกณฑ์เลขผลหารของวิธีฉวาง. (ศัพท์ใช้ในตำราเลขโบราณ).

บังคับเอก

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้แทนเอกได้.

ปริ,ปริ-,ปริ-

หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.

ตรีเทวตรีคันธา

หมายถึง[-ทะเวตฺรี-] น. กลิ่นสามสองสาม คือ แก่น ดอก ราก แห่งมะซางและบุนนาค. (ศัพท์คัมภีร์แพทย์).

กระกรับกระเกรียบ

หมายถึง(โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คำหลวง กุมาร).

บดี

หมายถึง[บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคำท้ายด้วยหมายความแต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.

วิกัป

หมายถึง[-กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คำแสดงความหมายให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).

ปฏิ,ปฏิ-

หมายถึงคำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).

ประดิ,ประดิ-

หมายถึงศัพท์นี้ใช้แทนคำว่า ปฏิ หรือ ประติ. (ดูคำที่มี ปฏิ หรือ ประติ นำหน้า).

ยาวชีวิก

หมายถึง[ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ