ตัวกรองผลการค้นหา
สามกษัตริย์
หมายถึงน. รูปพรรณที่ในชิ้นเดียวกันมีทั้งทอง นาก และเงินสลับกัน โบราณถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้สวม เช่น สายสร้อยสามกษัตริย์ กำไลสามกษัตริย์.
เจิม
หมายถึงก. เอาแป้งหอมแต้มเป็นจุด ๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล; เสริม, เพิ่ม, เช่น เจิมปากกระทง.
พิธี
หมายถึงน. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธีประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกำหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คำหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
ดิลก
หมายถึง[ดิหฺลก] น. รอยแต้มหรือเจิมที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล, เลิศ, ยอด, เฉลิม. (ป., ส. ติลก ว่า ไฝ, รอยตกกระที่ผิวหนัง).
โห่
หมายถึงอ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนำเพื่อแสดงความพร้อมเพรียงในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทำเสียงเช่นนั้น; โดยปริยายหมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
กระกลับกลอก
หมายถึง(กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตำราช้างคำฉันท์).
โฉลก
หมายถึง[ฉะโหฺลก] น. โชค, โอกาส; ลักษณะซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี ถ้าดีเรียกว่า ถูกโฉลก ถ้าไม่ดีเรียกว่า ไม่ถูกโฉลก มักกำหนดด้วยการดูลักษณะ วัดขนาด นับจำนวน เป็นต้น ของคน สัตว์ สิ่งของ ว่าเป็นมงคลหรือไม่เป็นมงคล, อีสานเรียก โสก; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, โฉลกแรก ก็ว่า.
ฆ้องชัย
หมายถึงน. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก.
มงคลสูตร
หมายถึง[มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
วาร,วาร-,วาร-,วาระ
หมายถึง[วาระ-] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ในตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
พร
หมายถึง[พอน] น. คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
ลัคน,ลัคน-,ลัคน์,ลัคนา
หมายถึง[ลักคะนะ-, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน.