ค้นเจอ 86 รายการ

จาวมะพร้าว

หมายถึงน. (๑) มันจาวมะพร้าว. (ดู มันเสา). (๒) ชื่อเห็ดชนิด Clavatia craniformis Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง.

กุหร่า

หมายถึง[-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสีชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า กะบังหน้า).

หมวกกะโล่

หมายถึงน. หมวกกันแดดชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วยไม้ฉำฉาหรือไม้ก๊อกเป็นต้นแล้วหุ้มผ้า หรือทำด้วยใบลาน.

ระบุ

หมายถึงก. เจาะจง เช่น ระบุชื่อผู้รับ ระบุตัวบุคคล, บ่งชื่อ, ออกชื่อเฉพาะ, เช่น ระบุชื่อพยาน; มีออกมามาก ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น ทุเรียนระบุ เห็ดระบุ ส่าไข้ระบุ.

ตีนตุ๊กแก

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Ficus pumila L. ในวงศ์ Moraceae ใบเขียว กิ่งก้านแตกรากเกาะเลื้อย ใช้ปลูกประดับผนัง, ลิ้นเสือ ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด Tridax procumbens L. ในวงศ์ Compositae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ดอกมีก้านยาว กลีบสีเหลืองนวล. (๓) ชื่อไม้ล้มลุกอวบนํ้าชนิด Kalanchoe delagoensis Eckl. et Zeyh. ในวงศ์ Crassulaceae เป็นไม้ปลูก, ตุ๊กแกใบกลม ก็เรียก. (๔) ชื่อเฟินขนาดเล็กชนิด Selaginella helferi Warb. ในวงศ์ Selaginellaceae ใบเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีกลุ่มอับสปอร์เป็นแท่งที่ปลายกิ่ง. (๕) ชื่อเห็ดชนิด Schizophyllum commune Fr. ในวงศ์ Schizophyllaceae ขึ้นตามเปลือกไม้ ดอกเห็ดรูปพัดขอบจักม้วนลง สีขาวอมเทาอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเหนียว กินได้, เห็ดข้าวตอก ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก เห็ดแครง. (๖) ชื่อเห็ดชนิด Lopharia papyracea (Jungh.) Reid ในวงศ์ Stereaceae ขึ้นบนขอนไม้ ไม่มีก้าน เป็นแผ่นบางคล้ายกระดาษ สีนํ้าตาลหม่น กินได้ และใช้ทำยา, เห็ดจิก ก็เรียก.

ลักษณนาม

หมายถึง(ไว) น. คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.

กะลา

หมายถึงน. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคำไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สำ) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.

หูหนู

หมายถึงน. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบนขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีน้ำตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดำ กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดำ เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.

กะลาสี

หมายถึงน. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือพลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).

จีโบ

หมายถึงน. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทำด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกันความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่องถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง.

หมวกหูกระต่าย

หมายถึงน. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง.

บ๊ะจ่าง

หมายถึงน. ชื่ออาหารคาวของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ