ตัวกรองผลการค้นหา
จิตรกรรม
หมายถึงน. ศิลปะประเภทหนึ่งในทัศนศิลป์เกี่ยวกับการเขียนภาพวาดภาพ, รูปภาพที่เขียนหรือวาดขึ้น. (ส.).
วัฒนธรรม
หมายถึงน. สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา.
หนักกบาล,หนักกบาลหัว
หมายถึง(ปาก) ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร. (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า.
วาทศาสตร์
หมายถึงน. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหารให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
รองเง็ง
หมายถึงน. ศิลปะการแสดงแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการเต้นรำคู่ชายหญิง และร้องเพลงคลอไปด้วย. (เทียบ ม. ronggeng).
สีจาง
หมายถึง(ศิลปะ) น. สีที่เจือสีขาวเพื่อลดประกายสดใสให้อ่อนลง อย่างสีแดงเจือสีขาว เป็นสีชมพู.
ละเอียดอ่อน
หมายถึงว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่องการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
สถาปัตยกรรม
หมายถึง[สะถาปัดตะยะกำ] น. ศิลปะและวิทยาเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ. (ส. สฺถาปตฺย + กรฺมนฺ).
สร้างสรรค์
หมายถึงก. สร้างให้มีให้เป็นขึ้น (มักใช้ทางนามธรรม) เช่น สร้างสรรค์ความสุขความเจริญให้แก่สังคม. ว. มีลักษณะริเริ่มในทางดี เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะสร้างสรรค์.
ละครชาตรี
หมายถึงน. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
สีหม่น
หมายถึง(ศิลปะ) น. สีที่เจือสีดำเพื่อลดประกายสดใสให้คล้ำลง อย่างสีแดงเจือสีดำ เป็นสีแดงเลือดหมู.
ส่วนสัด
หมายถึงน. ขนาดที่พอเหมาะพอดีตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือที่นิยม เช่น ผู้หญิงคนนี้มีรูปร่างได้ส่วนสัด; (ศิลปะ) ส่วนที่กำหนดขึ้นให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความพอดี.