ค้นเจอ 376 รายการ

จาน

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).

โสวรรณ

หมายถึง[-วัน] ว. เป็นทอง, ทำด้วยทอง. (ป. โสวณฺณ; ส. เสาวรฺณ).

ทองเนื้อเก้า

หมายถึงน. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.

ทองไม่รู้ร้อน

หมายถึง(สำ) ว. เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน.

เลื่อยทำทอง

หมายถึงน. เครื่องมือช่างทอง ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นเส้นลวดแบน ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายคันเลื่อยซึ่งทำด้วยเหล็กเป็นรูปอย่างนี้ คล้ายคันเลื่อยฉลุ แต่สั้นกว่าและทำด้วยเหล็กแข็งกว่า.

พระยาโต๊ะทอง

หมายถึงน. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา และได้รับพระราชทานโต๊ะทอง (พานก้นตื้น) เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับโต๊ะทอง.

ตะ

หมายถึงก. ทา, ฉาบ, แตะ, กะไหล่ เช่น ตะทอง ว่า กะไหล่ทอง, ตะทองลาย ว่า กะไหล่ทองเป็นดวง ๆ, หรือ ตะถม เป็นต้น.

บาทยุคล

หมายถึง[บาดทะยุคน, บาดยุคน] น. เท้าทั้งคู่. (ป. ปาทยุคล).

ตัวเงินตัวทอง

หมายถึง(ปาก) น. เหี้ย.

ปิดทองหลังพระ

หมายถึง(สำ) ก. ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า.

ลงนะหน้าทอง

หมายถึงก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.

ทองกวาว

หมายถึง[-กฺวาว] (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นทอง. (ดู ทอง ๒).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ