ตัวกรองผลการค้นหา
หางข้าว
หมายถึงน. ข้าวเปลือกที่ยังมีข้าวลีบปนอยู่มาก; (โบ) จำนวนข้าวที่หลวงเรียกเก็บเป็นภาษี. (พงศ. ร. ๒).
คชราช
หมายถึง[คดชะราด] น. คุดทะราด เช่น ประชวรพระโรคสำหรับบุรุษกลายเป็นพระโรคคชราช. (พงศ. เลขา).
กะอูบ
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).
น้อย
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. คำเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).
ดัดดั้น
หมายถึงก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ฉกรรจ์ลำเครื่อง
หมายถึง(โบ) น. ทหารที่เลือกคัดและแต่งเครื่องรบพร้อมที่จะเข้ารบได้ทันที เช่น พลฉกรรจ์ลำเครื่องแสนหนึ่ง ช้างเครื่องแปดร้อย. (พงศ. เลขา).
นุ
หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ซ่อม
หมายถึงก. ทำสิ่งที่ชำรุดให้คืนดี; แทง. น. เรียกช้างสำหรับใช้ฆ่าคนว่า ช้างซ่อม เช่น ช้างพลายซ่อมตัวหนึ่ง เป็นช้างเพชฌฆาต. (พงศ. เลขา).
เทศกาล
หมายถึงน. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทำนาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
ท่องสื่อ
หมายถึงน. ตำแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
จิ้มก้อง
หมายถึงก. เจริญทางไมตรีโดยนำเครื่องบรรณาการไปมอบให้ เช่น แต่งทูตออกไปจิ้มก้อง. (พงศ. ร. ๓), (ปาก) โดยปริยายหมายถึงนำสิ่งของเป็นต้นไปกำนัลเพื่อเอาใจ.
ห้อม
หมายถึงก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).