ค้นเจอ 55 รายการ

ปัณรสี

หมายถึง[ปันนะระสี] ว. ที่ ๑๕. (ป. ปณฺณรสี).

พิสัย

หมายถึงน. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตำบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).

สามเกลอ

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๓ ที่; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ มีไส้หน้ากระฉีก ร้อยด้วยตอกให้ติดกัน ๓ ก้อน แล้วนำไปทอด.

แหล่ง

หมายถึง[แหฺล่ง] น. ถิ่น, ที่อยู่, บริเวณ, ศูนย์รวม, บ่อเกิด, แห่ง, ที่.

อินทรวิเชียร

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น

จตุตถ,จตุตถ-,จตุตถี

หมายถึง[จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.).

ทวาทศี

หมายถึงว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศีดิถี = วัน ๑๒ คํ่า. (ส.).

ทศม,ทศม-

หมายถึง[ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).

ทศมี

หมายถึง[ทะสะมี, ทดสะมี] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมีดิถี = วัน ๑๐ คํ่า. (ส.).

ทุติย,ทุติย-

หมายถึง[ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).

ทุติยาสาฬหะ

หมายถึง[-สานหะ] (แบบ) น. เดือน ๘ ที่ ๒, เดือน ๘ หลัง. (ป.).

นวม,นวม-,นวม-

หมายถึง[นะวะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๙ เช่น นวมสุรทิน = วันที่ ๙. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ