ตัวกรองผลการค้นหา
ให้หูให้ตา
หมายถึงก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หูให้ตาใคร ๆ.
สืบสวน
หมายถึง(กฎ) ก. แสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด.
รายงาน
หมายถึงน. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ.
นุ
หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
สอบสวน
หมายถึง(กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการอย่างอื่นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ.
เอกลักษณ์
หมายถึง[เอกกะ-] น. ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน; (คณิต) ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ สำหรับทุกค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ. (อ. identity).
แถลงการณ์
หมายถึง(กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
ไทเทรต
หมายถึง[-เทฺรด] ก. หยดสารละลายหนึ่งจากหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตรซึ่งเรียกว่าบิวเรตต์ลงในสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตรแล้ว เพื่อให้ทำปฏิกิริยาเคมีกันจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด. (อ. titrate).
โฆษณา
หมายถึง[โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทำการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
โหมโรง
หมายถึงน. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการบรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
ลา
หมายถึงก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คำพูด หรือด้วยหนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.
อัตราส่วน
หมายถึงน. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดบางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วนไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).