ตัวกรองผลการค้นหา
กัษณ
หมายถึง[กัดสะหฺนะ] (กลอน) น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ. (ม. คำหลวง สักบรรพ).
จัก
หมายถึง(ไว) คำช่วยกริยาบอกกาลภายหน้า แสดงเจตจำนง เช่น จักกิน จักนอน.
จตุกาลธาตุ
หมายถึง[-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
รัตตัญญู
หมายถึง[รัดตันยู] น. ผู้รู้กาลนาน, ผู้มีอายุมาก จำกิจการต่าง ๆ ได้มาก. (ป.).
อันธ,อันธ-
หมายถึง[อันทะ-] ว. มืด, มืดมน, เช่น อันธกาล; โง่, ทึบ, เช่น อันธปัญญา; มองไม่เห็น, บอด, เช่น อันธจักษุ. (ป., ส.).
ยาวชีวิก
หมายถึง[ยาวะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้เสมอไป ไม่มีจำกัดกาล, ตามวินัยบัญญัติได้แก่ของที่ใช้ประกอบเป็นยาสงเคราะห์เข้าในคิลานปัจจัย. (ดู กาลิก). (ป.).
โกรธ
หมายถึง[โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
ปฐมโพธิกาล
หมายถึง[ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. (ป.).
วิภัตติ
หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
มรดก
หมายถึง[มอระ-] น. สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล; (กฎ) ทรัพย์สินทุกชนิดตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก.
ทัน
หมายถึงว. เป็นไปตามเวลาที่กำหนด, เป็นไปพอดีกับเวลาที่กำหนด, เช่น ทันกาล ทันเวลา; ตามไปถึง เช่น เรียนทัน วิ่งทัน; เท่า, เทียมถึง, เช่น รู้ทันคน; เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เอย,เอย,เอ่ย,เอ่ย
หมายถึงคำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).