ตัวกรองผลการค้นหา
คัว
หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. ทำให้สะอาด, ชำระล้าง, เช่น คัวปลา ว่า ขอดเกล็ดปลาแล้วผ่าท้องล้างให้สะอาด.
ปะหัง
หมายถึงน. เครื่องใช้ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกขัดเป็นวงสำหรับใส่หญ้าให้วัวควายกิน.
กระชุก
หมายถึงน. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, สามชุก ก็เรียก.
ซีก
หมายถึงน. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออกโดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกายตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้; ลักษณนามเรียกส่วนที่แยกออกนั้น เช่น มะม่วงซีกหนึ่ง แตงโม ๒ ซีก; ใช้สำหรับมาตราเงินโบราณเท่ากับ ของเฟื้อง.
เรือก
หมายถึงน. ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้นที่ผ่าออกเป็นซีก ๆ แล้วถักด้วยหวายสำหรับปูพื้นหรือกั้นเป็นรั้วเป็นต้น, พื้นที่ลาดหรือปูด้วยไม้ถักด้วยหวาย, เรียกสะพานชั่วคราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกถักด้วยหวายหรือเชือกว่า สะพานเรือก.
ขังปล้อง
หมายถึงว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝานข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่ง เพื่อทำเป็นตะขาบเป็นต้น.
สามชุก
หมายถึงน. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, กระชุก ก็เรียก. (ดู กระชุก ๒).
เส้นยาแดงผ่าแปด
หมายถึง(ปาก) ว. เฉียดกันนิดเดียว เช่น เขายิงพลาดเป้าไปเพียงเส้นยาแดงผ่าแปด; เล็กมาก, ละเอียดมาก, เช่น เรื่องนี้ไม่ต้องอธิบายถี่ถ้วนอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด, เส้นผมผ่าแปด ก็ว่า.
มิสกรี
หมายถึง[มิดสะกฺรี] น. เสื้อที่ใช้ผ้าค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นเสื้อคอกลม ผ่าหน้าลึกพอให้สวมได้ แขนเสื้อต่อเป็นเส้นตรง.
เกริ่น
หมายถึง[เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
หมากกั๊ก
หมายถึงน. ผลหมากสงทั้งเปลือกที่ผ่าตามยาวออกเป็น ๔ ซีก แล้วนำไปตากแดดให้แห้งจนเปลือกล่อนหลุดออก เพื่อเก็บเนื้อไว้กินได้นาน ๆ.
หม้อห้อม
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. เรียกเสื้อคอกลม แขนสั้นผ่าอกตลอด มักย้อมสีนํ้าเงินเข้มหรือดำ ว่า เสื้อหม้อห้อม, เขียนเป็น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม ก็มี.