ค้นเจอ 76 รายการ

ตีนจก

หมายถึงน. ชื่อเชิงซิ่นที่ทอจกลายโดยใช้ขนเม่นควักและใช้ด้ายหรือไหมสอดลาย แล้วนำมาเย็บติดกับซิ่น, เรียกผ้าที่มีเชิงเช่นนั้นว่า ผ้าตีนจก.

บัญจก

หมายถึง[บันจก] น. หมวด ๕, ประชุม ๕, เช่น ขันธบัญจก. (ป. ปญฺจก).

ปัจเจก,ปัจเจก-

หมายถึง[ปัดเจก, ปัดเจกะ-, ปัดเจกกะ-] (แบบ) ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น ปัจเจกชน. (ป.).

ปัจเจกพุทธะ

หมายถึง[ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).

ปัญจก,ปัญจกะ

หมายถึง[ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).

ลัญจกร,ลัญฉกร

หมายถึง[ลันจะกอน, ลันฉะกอน] (แบบ) น. ตรา (สำหรับใช้ตีหรือประทับ), ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชลัญจกร เช่น ประทับพระราชลัญจกร. (ป.).

วัจกุฎี

หมายถึงน. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).

เสร็จกัน,เสร็จเลย

หมายถึง(ปาก) คำที่เปล่งออกมาแสดงความผิดหวัง เช่น เสร็จกัน ยังไม่ทันได้ออกแสดง เสื้อผ้าก็เปื้อนหมดแล้ว เสร็จเลย ลืมเอากระเป๋าสตางค์มา.

อนิจกรรม

หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.

อัจกลับ

หมายถึง[อัดจะกฺลับ] น. โคมอย่างหนึ่งทำด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้าห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ.

อัจเจกะ

หมายถึงว. ผิดปรกติ, บังเอิญเป็น; รีบร้อน; จำเป็น. (ป.).

กรรตุวาจก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ