ตัวกรองผลการค้นหา
ประวัติ,ประวัติ-
หมายถึง[ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติวัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
ปัฐยาวัต
หมายถึง[ปัดถะหฺยาวัด] (แบบ) น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ป. ปฐฺยาวตฺต).
ไปรษณียวัตถุ
หมายถึง[ไปฺรสะนียะวัดถุ, ไปฺรสะนีวัดถุ] น. (เลิก) พัสดุไปรษณีย์.
พยานวัตถุ
หมายถึง(กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
พลวัต
หมายถึง[พนละ-] ว. ซึ่งเกี่ยวข้องกับแรง, ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลของแรงเช่นการเคลื่อนที่. (อ. dynamic).
รงควัตถุ
หมายถึงน. สีต่าง ๆ.
โลกาภิวัตน์
หมายถึงน. การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น. (ป. โลก + อภิวตฺตน; อ. globalization).
ศตสังวัตสร์
หมายถึงน. เวลานานชั่ว ๑๐๐ ปี. (ส.).
สารวัตรทหาร
หมายถึงน. ทหารที่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจสั่งใช้ให้ปฏิบัติหน้าที่ เช่น สอดส่อง ตรวจตรา ตักเตือน จับกุมทหาร ข้าราชการพลเรือนและคนงานสังกัดกระทรวงกลาโหมที่กระทำความผิดหรือไม่อยู่ในระเบียบวินัยซึ่งอยู่ภายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร.
เกียรติประวัติ
หมายถึง[เกียดติปฺระหฺวัด, เกียดปฺระหฺวัด] น. ประวัติที่ได้รับความสรรเสริญ, ประวัติที่เลื่องลือ.
ทำวัตร
หมายถึงก. กระทำกิจที่พึงกระทำตามหน้าที่หรือธรรมเนียมเช่นไหว้พระสวดมนต์เช้าคํ่าของพุทธบริษัท, ทำวัตรพระ ก็ว่า; ทำสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระเณร.
ประวัติการ
หมายถึง[ปฺระหฺวัดติกาน, ปฺระหฺวัดกาน] น. เรื่องราวที่เป็นมาแล้วแต่ก่อนตามลำดับสมัย.