ค้นเจอ 74 รายการ

บริจาริกา

หมายถึง[บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).

บาทบริจาริกา

หมายถึง[บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปาริจาริกา).

พฤฒาจารย์

หมายถึงน. อาจารย์ผู้เฒ่า, พราหมณ์ผู้เฒ่า.

สมจารี

หมายถึง[สะมะ-] น. ผู้ประพฤติสมํ่าเสมอ. (ป.).

เสียพรหมจารี

หมายถึงก. ผ่านการร่วมประเวณีครั้งแรก (ใช้แก่ผู้หญิง), เสียสาว ก็ว่า.

อนุศาสนาจารย์

หมายถึง[อะนุสาสะนาจาน, อะนุสาดสะนาจาน] น. อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรมของหน่วยราชการ.

อุจจาร,อุจจาร-,อุจจาระ

หมายถึง[อุดจาระ-] น. ขี้, (ปาก) อึ. (ป., ส.).

อุจจารมรรค

หมายถึง[อุดจาระมัก] น. ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).

กาเมสุมิจฉาจาร

หมายถึง[-มิดฉาจาน] น. การประพฤติผิดในประเวณี. (ป.).

เกจิอาจารย์

หมายถึงน. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).

จารี

หมายถึงน. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. (ป.).

จารึก

หมายถึงก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ