ค้นเจอ 35 รายการ

ฟูมฟายน้ำตา

หมายถึงก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.

รื่น

หมายถึงว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.

ม่อย

หมายถึงก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจว่า หน้าม่อย.

สะอื้น

หมายถึงก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจเป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ.

ระงม

หมายถึงว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจำนวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคำว่า ร้อนระงม.

อุทาน

หมายถึงน. เสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น; ในไวยากรณ์เรียกคำหรือเสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้นว่า คำอุทาน. (ป., ส.).

เข่าอ่อน

หมายถึงก. อาการที่เข่าหมดกำลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการหมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.

รันทด

หมายถึงก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.

ว้า

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.

ล้มทั้งยืน

หมายถึงก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่างรุนแรงโดยไม่เคยคาดคิด ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอรู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.

คราง

หมายถึง[คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ